วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4

ให้นักศึกษา ไปค้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3 โปรแกรม ต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างที่เกิดจากงานโปรแกรมนั้นๆมาด้วย

ตอบ  ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไป ผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์กับงานของตน ผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีก ราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากเกินไปซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปซึ่งนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งานคือ


 1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ และสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์รูปแบบตัวอักษรมีให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ช่วยสร้างเอกสารในรูปแบบที่ต้องการได้ง่าย เช่น สามารถแบ่งเป็นสดมภ์ได้หลายแบบในเอกสารชุดเดียวกัน สามารถนำรูปภาพ หรือกราฟมาเป็นส่วนประกอบของเอกสารได้ สามารถสร้างตาราง จัดเรียงตัวอักษร สามารถใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลในการแสดงหรือการพิมพ์งาน เช่น นำฐานข้อมูลรายชื่อผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรที่สร้างจากซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมาพิมพ์ร่วมกับแบบฟอร์มที่พิมพ์และจัดเตรียมไว้ในซอฟต์แวร์ประมวลคำ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถช่วยสร้างดัชนี และสารบัญได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ประมวลคำทำให้ความสำคัญของการใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดลดน้อยลง เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด ซียูไรด์เตอร์ โลตัสเวิร์ดโปร และซอฟต์แวร์ประมวลคำของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
          คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันคือสามารถช่วยตรวจสอบตัวสะกดในเอกสารที่พิมพ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ทั้งในรูปแบบของคำหรือไวยากรณ์ หากพิมพ์ผิดโปรแกรมจะแสดงสัญลักษณ์ให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่าย เช่น มีการขีดเส้นใต้สีแดงใต้คำที่พิมพ์ผิด และจะมีคำที่ถูกต้องให้เลือกว่าต้องการคำไหน ความสามารถนี้สืบเนื่องมาจากมีการผนวกซอฟต์แวร์ทางด้านภาษาเช่น พจนานุกรม เข้ากับซอฟต์แวร์ด้วย แต่หากเป็นชื่อเฉพาะผู้ใช้ก็สามารถเพิ่มชื่อเฉพาะเข้าไปได้เพื่อป้องกันไม่ให้ซอฟต์แวร์รายงานความผิดพลาด ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถสรุปหรือย่อเนื้อหาในสัดส่วนที่ต้องการได้ เช่นสรุปเนื้อหาจากเอกสาร 10 หน้าให้เหลือ 2 หน้า และปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย
หน้าต่างการใช้งานซอฟต์แวร์ประมวลคำของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว
หน้าต่างการใช้งานของซอฟต์แวร์ประมวลคำไมโครซอฟต์เวิร์ด
  
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spreadsheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด หากผู้ใช้ต้องการสร้างคำสั่งหรือสูตรเองก็สามารถดำเนินการได้ และสามารถสร้างคำสั่งพิเศษที่เรียกว่า มาโคร ในการใช้งานเฉพาะได้ นอกจากนี้โปรแกรมตารางทำงานยังสามารถสร้างกราฟ แผนภูมิสำหรับนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม กราฟเส้น และอื่นๆ
          ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เช่น ไมโครซอฟต์เอกเซล โลตัส123 และซอฟต์แวร์ตารางทำงานของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
          การใช้งานโปรแกรมตารางทำงานจะอ้างถึงสดมภ์และแถว กล่าวคือข้อมูลหรือการคำนวณต่างๆ จะใส่ไว้ในเซลซึ่งเกิดจากสดมภ์และแถว โดยตำแหน่งของแต่ละเซลจะถูกกำหนดด้วย หมายเลขของสดมภ์และแถว เช่น จากรูปด้านล่าง ข้อความ สสวท อยู่ในเซล แสดงว่า ตำแหน่งเซลนี้อยู่สดมภ์ที่ B และแถวที่ 5

                                     
                               ตัวอย่างของการอ้างตำแหน่งจากเซลสดมภ์และแถว 
             
                                                   

                                      

                   หน้าต่างใช้งานของซอฟต์แวร์ตารางทำงานของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว
   
 ซอฟต์แวร์ตารางทำงานของไมโครซอฟต์เอกเซล
   การคำนวณของซอฟต์แวร์ตารางทำงานนั้นสามารถคำนวณได้ทั้งในแนวของแถว สดมภ์ หรือแบบเฉพาะเจาะจงก็ได้ จากตารางข้างล่าง แสดงตัวอย่างฟังก์ชันการคำนวณที่ซอฟต์แวร์สนับสนุน ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการใช้งานโดยทั่วไปสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันที่มีอยู่หลายหมวดหมู่ เช่น ฟังก์ชันทางสถิติ ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ฐานข้อมูล และอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนมาโครเพิ่มเติม ตัวอย่างของฟังก์ชันที่มีการใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และผลรวม
                         ตาราง ตัวอย่างสูตรและฟังก์ชันการคำนวณในซอฟต์แวร์ตารางทำงาน       
                                                                        การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน จากตัวอย่างที่ 5 ในตารางที่ 5.1 จะทำการนำค่า B3 มาคูณกับ C4 แล้วบวกกับ A2 ต่อจากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ลบออกด้วยค่า D5 การเป็นเช่นนี้ เป็นหลักการทางคณิตศาสตร์ที่ให้ตัวดำเนินการคูณและหารดำเนินการก่อนตัวดำเนินการบวกและลบ ดังนั้นการกำหนดสูตรจึงต้องมีความชัดเจน การใส่เครื่องหมายวงเล็บจะป้องกันความสับสน ดังนั้น =A2+B3*C4-D5 สามารถเขียนใหม่ได้เป็น =A2+(B3*C4)-D5 ซึ่งจะทำให้ชัดเจนมากขึ้น
          ค่าต่างๆ ที่อยู่ในเซลของตารางทำงานนั้นสามารถกำหนดชนิดของข้อมูลได้เช่นตัวอักษร จำนวนเต็ม จำนวนจริง วันเดือนปี เวลา เปอร์เซ็นต์ และอัตราค่าเงินของประเทศต่างๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ตารางทำงานช่วยคำนวณรายการต่างๆ เช่น คำนวณภาษี รายรับรายจ่าย และประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียน เป็นต้น

3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database management software) การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลพื้นฐาน การสร้างรายงานผล หรือสรุปผลของข้อมูลที่ผ่านการประมวลแล้ว ซอฟต์แวร์นี้จะมีการจัดเก็บทั้งค่าข้อมูลพร้อมโครงสร้างข้อมูล เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนและความขัดแย้งของข้อมูลตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้งานทั้งหลายได้รับความสะดวกและใช้ข้อมูลร่วมกันได้
          ในซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจะมีการจัดเก็บเป็นตารางความสัมพันธ์ (relation) ซึ่งในฐานข้อมูลหนึ่งๆ จะมีตารางความสัมพันธ์ได้หลายตาราง และในแต่ละตารางความสัมพันธ์ก็จะมีได้หลายลักษณะประจำ ( attribute ) ในการสร้างลักษณะประจำนั้นจะมีการกำหนดชนิดของลักษณะประจำ และกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ เช่น รูปแบบ และความยาวของเขตข้อมูล เป็นต้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องกำหนดลักษณะประจำ 1 ตัวให้เป็นเขตกุญแจหลัก (primary key) ของตารางความสัมพันธ์ด้วย เมื่อกำหนดลักษณะประจำในตารางความสัมพันธ์แล้ว ก็จะสามารถเติมข้อมูลได้ ซึ่งข้อมูลในแต่ละแถวของตารางความสัมพันธ์ เราเรียกว่า เอนทิตี้ (entity)
          นอกจากนั้นซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลยังมีในส่วนของพจนานุกรมข้อมูล ซึ่งจะบอกรายละเอียดของตารางความสัมพันธ์ เช่นบอกชื่อตารางความสัมพันธ์ จำนวน รายชื่อคุณลักษณะประจำ และเขตกุญแจหลัก เราสามารถสร้างดัชนีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูล โดยประกอบด้วยข้อมูลที่แสดงตำแหน่งของข้อมูลจากค่าที่กำหนด และยังสามารถกำหนดความสัมพันธ์ของตารางข้อมูล สร้างรายงาน และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ โครงสร้างและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวก ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลบางซอฟต์แวร์ก็สามารถเรียกใช้งานฐานข้อมูลที่สร้างจากซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลอื่นได้
  

                                         



หน้าต่างการใช้ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลของไมโครซอฟต์แอกเซส


ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน ตัวอย่างของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เช่น ไมโครซอฟต์แอกเซส ดีเบส และ ฟอกซ์เบส นอกจากนี้ยังมีระบบจัดการฐานข้อมูลบนระบบปฏิบัติการอื่น เช่น บนระบบลีนุกซ์มีซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลเป็นจำนวนมากทั้งที่เป็นโปรแกรมที่ใช้ฟรี เช่น มายเอสคิวแอล, โพสเกรส เอสคิวแอล, พีคิวแอล หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นซอฟต์แวร์การค้า เช่น ดีบีทู, อินฟอร์มิก, อินเกรส, ออราเคิล และไซเบส เป็นต้น

Assignment 3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาสังคมศึกษามา1ระบบอธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป

  • ระบบการสอนรายวิชา ประวัติศาสตร์ไทย

สาระการเรียนรู้ “ประวัติศาสตร์ไทย” ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สิ่งที่ครูผู้สอนหรือผู้นิเทศภายในสถานศึกษา จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันเป็นอันแรก ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์ มีมาตรฐานที่สำคัญ 3 ข้อ ดังนี้
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ
มาตรฐาน ข้อนี้ เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจสามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์ ฯ
มาตรฐาน 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
มาตรฐาน ข้อนี้ เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ฯ
มาตรฐาน 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความภาคภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
มาตรฐาน ข้อนี้ เน้นความเข้าใจความเป็นมาของชาติไทย ฯ 
กรอบความคิดการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน “สาระประวัติศาสตร์”



  • Input


1.แผนการสอน เช่น มีการเตรียมแผนการสอนของรายวิชาประวัติศาสตร์ ศึกษาเนื้อหา
อย่างละเอียดและเข้าใจอย่างถูกต้อง
2.วัตถุประสงค์ของการสอน เช่น ต้องการให้นักเรียนนักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์     ของไทยอย่างถูกต้อง รู้ถึงความเป็นมา
3.เนื้อหา เช่น เนื้อหาต้องครบถ้วนสมบูณ์ สอนตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง

4.สื่อการสอนเช่น  น่าสนใจ เหมาะกับวัยของนักศึกษา หรือ นักเรียน

  • Process

(วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ: เทคนิคคู่คิด)
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 

ชั่วโมงที่ 11. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูนำรูปภาพบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์มาแสดงให้นักเรียนดู  แล้วให้นักเรียนบอกว่า เป็นรูปภาพของใคร  และมีความสำคัญอย่างไร
      รูปที่  1  เฮโรโดตุส  บิดาวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก
      รูปที่ 2  ซือหม่า  เซียน  บิดาวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออก
      รูปที่ 3  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  บิดาวิชาประวัติศาสตร์ไทย
3. ให้นักเรียนศึกษาความสำคัญของประวัติศาสตร์  จากหนังสือเรียน 
4. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
5. ครูตั้งประเด็นคำถามนำ  เช่น  ถ้าเราต้องการรู้ว่าท้องถิ่นหรือชุมชนของเราในอดีตเป็นอย่างไร  เราศึกษาได้จากอะไร  มีขั้นตอนในการศึกษาอย่างไร
6. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และชี้แนะให้นักเรียนเข้าใจว่า  ถ้าเราต้องการรู้ว่าท้องถิ่นหรือชุมชนของเราในอดีตมีลักษณะอย่างไร  เราจะต้องศึกษาจากร่องรอยหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่  เช่น  ศึกษาจากอาคารสถานที่  สถาปัตยกรรมต่าง ๆ  วิถีการดำเนินชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณี  บันทึก  หรือจากหนังสือ  สิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ  ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์   ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
7. ครูให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ จากหนังสือเรียน  

ชั่วโมงที่ 2-3
1. ครูยกตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และให้นักเรียนช่วยกันตอบว่า เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทใด  เช่น
    - ตำนานพญาคันคาก   ตำนานพระแก้วมรกต  พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา   จดหมายเหตุลาลูแบร์ แนวพระราชวังเก่า  ภาพเขียนสมัยกรุงธนบุรี   ลวดลายศิลปกรรมพระที่นั่งพุทไธสวรรย์     
2. ครูเล่าตำนานพญาคันคาก (เอกสารประกอบการสอน) ซึ่งเป็นตำนานแสดงความเชื่อของชาวอีสานให้นักเรียนฟัง  
3. ให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์จากประเด็นที่ครูกำหนดให้   เช่น
    - นักเรียนคิดว่า ตำนานพญาคันคากน่าเชื่อถือหรือไม่   เพราะเหตุใด
4. ครูให้นักเรียนจับคู่วิเคราะห์  พร้อมทั้งแสดงเหตุผลเป็นประเด็น ๆ  และสรุปลงในกระดาษที่ครูแจกให้   (กระดาษ  A4  )  ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
5. ให้ตัวแทนนักเรียนคู่ที่แสดงความคิดเห็นว่า น่าเชื่อถือออกมาร่วมแสดงความคิดเห็น ครูสรุปประเด็นสำคัญ แล้วจึงให้ตัวแทนนักเรียนคู่ที่แสดงความคิดเห็นว่า ไม่น่าเชื่อถือออกมาร่วมแสดงความคิดเห็น  
6. ครูสรุปสาระสำคัญจากที่นักเรียนแสดงความคิดเห็น  และอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่าการวิเคราะห์เรื่องราวของตำนานพญาคันคากที่เกิดขึ้นมาแล้วว่า  เป็นจริงมากแค่ไหน  จะต้องใช้วิธีการที่น่าเชื่อถือ ซึ่งเรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์  ซึ่งตำนานพญาคันคาก  เป็นตำนานแสดงความเชื่อของชาวอีสานและชุมชนสองฝั่งโขงเกี่ยวกับสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมสำคัญ
7. ให้นักเรียนศึกษาขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ จากหนังสือเรียน แล้วครูอธิบายขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์  ตามลำดับ  ดังนี้
    - การตั้งประเด็นที่จะศึกษา
    - การรวบรวมหลักฐาน
    - การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
    - การเลือกสรรและจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล
    - การนำเสนอข้อมูล หรือการสังเคราะห์ข้อมูล
8. ให้นักเรียนเปรียบเทียบและอภิปรายวิธีการทางประวัติศาสตร์  กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร   โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระและสร้างสรรค์

ชั่วโมงที่ 41. ให้นักเรียนเล่นเกมโดยแจกบัตรคำตามจำนวนนักเรียน  เช่น ก้อนหิน อิฐ ใบลาน ศิลาจารึก หอก ดาบ  มีด  โครงกระดูก  จดหมายเหตุ  สายสร้อย  แหวน  ถ้วยชาม  เป็นต้น 
2. ให้นักเรียนรวมกันเป็น 2  กลุ่ม  ดังนี้
      กลุ่มที่ 1 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
      กลุ่มที่ 2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. ครูให้ตัวแทนกลุ่มบันทึกรายชื่อคำต่างๆ ที่จัดอยู่ในกลุ่มของตน เมื่อแต่ละกลุ่มทำเสร็จครูเฉลยคำตอบ   และให้นักเรียนสรุปประโยชน์จากการปฏิบัติกิจกรรม 
4. ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาความรู้เกี่ยวกับประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย  จากหนังสือเรียน
5. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้   และทำใบงานที่  3.1  เรื่อง   หลักฐานทางประวัติศาสตร์ 

  • Output
1.ความรู้ เช่น มีความรู้ความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา
2.ทักษะ เช่นสามารถแก้ปัญหา เฉพาะหน้าได้   มีทักษะในการเรียน
3.คำถาม เช่น  สามารถตั้งคำถามเป็น และสามรถตอบคำถามได้                                                              4.แบบทดสอบ เช่น ทำแบบทดสอบของรายวิชาประวัติศาสตร์อยุธยาได้ผ่านเกณฑ์      
วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
 แบบทดสอบก่อนเรียน
 ร้อยละ 50 ผ่านเกณฑ์
 นักเรียนทำใบงานที่ 3.1
 ใบงานที่ 3.1
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์



วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 2



การผลิตน้ำตาลทราย จัดว่าเป็น system หรือไม่


การผลิตน้ำตาลทรายจัดได้ว่าเป็น System เพราะเป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ มีทั้งการ นำเข้า ( Input ) ประมวลผล ( Process ) แล้วและ นำออก ( Output )

โดยอย่างแรกคือการนำเข้า ( Input ) 
1.การนำอ้อยมาปลูก
2.การดูแลรดน้ำอ้อย
3.เก็บเกี่ยวอ้อยเมื่อโตเต็มที่แล้ว
4.การนำอ้อยที่เก็บเกี่ยวไปส่งในโรงงาน
      กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ

1.
กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) :
ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2.
การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย
(Juice Purification) :
น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.
การต้ม (Evaporation) :
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.
การเคี่ยว (Crystallization) :
น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ


กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้


1.
การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) :
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2.
การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) :
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3.
การเคี่ยว (Crystallization) :
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5.
การอบ (Drying) :
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย

http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.htm