วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาสังคมศึกษามา1ระบบอธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป

  • ระบบการสอนรายวิชา ประวัติศาสตร์ไทย

สาระการเรียนรู้ “ประวัติศาสตร์ไทย” ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สิ่งที่ครูผู้สอนหรือผู้นิเทศภายในสถานศึกษา จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันเป็นอันแรก ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์ มีมาตรฐานที่สำคัญ 3 ข้อ ดังนี้
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ
มาตรฐาน ข้อนี้ เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจสามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์ ฯ
มาตรฐาน 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
มาตรฐาน ข้อนี้ เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ฯ
มาตรฐาน 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความภาคภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
มาตรฐาน ข้อนี้ เน้นความเข้าใจความเป็นมาของชาติไทย ฯ 
กรอบความคิดการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน “สาระประวัติศาสตร์”



  • Input


1.แผนการสอน เช่น มีการเตรียมแผนการสอนของรายวิชาประวัติศาสตร์ ศึกษาเนื้อหา
อย่างละเอียดและเข้าใจอย่างถูกต้อง
2.วัตถุประสงค์ของการสอน เช่น ต้องการให้นักเรียนนักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์     ของไทยอย่างถูกต้อง รู้ถึงความเป็นมา
3.เนื้อหา เช่น เนื้อหาต้องครบถ้วนสมบูณ์ สอนตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง

4.สื่อการสอนเช่น  น่าสนใจ เหมาะกับวัยของนักศึกษา หรือ นักเรียน

  • Process

(วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ: เทคนิคคู่คิด)
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 

ชั่วโมงที่ 11. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูนำรูปภาพบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์มาแสดงให้นักเรียนดู  แล้วให้นักเรียนบอกว่า เป็นรูปภาพของใคร  และมีความสำคัญอย่างไร
      รูปที่  1  เฮโรโดตุส  บิดาวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก
      รูปที่ 2  ซือหม่า  เซียน  บิดาวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออก
      รูปที่ 3  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  บิดาวิชาประวัติศาสตร์ไทย
3. ให้นักเรียนศึกษาความสำคัญของประวัติศาสตร์  จากหนังสือเรียน 
4. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
5. ครูตั้งประเด็นคำถามนำ  เช่น  ถ้าเราต้องการรู้ว่าท้องถิ่นหรือชุมชนของเราในอดีตเป็นอย่างไร  เราศึกษาได้จากอะไร  มีขั้นตอนในการศึกษาอย่างไร
6. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และชี้แนะให้นักเรียนเข้าใจว่า  ถ้าเราต้องการรู้ว่าท้องถิ่นหรือชุมชนของเราในอดีตมีลักษณะอย่างไร  เราจะต้องศึกษาจากร่องรอยหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่  เช่น  ศึกษาจากอาคารสถานที่  สถาปัตยกรรมต่าง ๆ  วิถีการดำเนินชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณี  บันทึก  หรือจากหนังสือ  สิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ  ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์   ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
7. ครูให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ จากหนังสือเรียน  

ชั่วโมงที่ 2-3
1. ครูยกตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และให้นักเรียนช่วยกันตอบว่า เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทใด  เช่น
    - ตำนานพญาคันคาก   ตำนานพระแก้วมรกต  พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา   จดหมายเหตุลาลูแบร์ แนวพระราชวังเก่า  ภาพเขียนสมัยกรุงธนบุรี   ลวดลายศิลปกรรมพระที่นั่งพุทไธสวรรย์     
2. ครูเล่าตำนานพญาคันคาก (เอกสารประกอบการสอน) ซึ่งเป็นตำนานแสดงความเชื่อของชาวอีสานให้นักเรียนฟัง  
3. ให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์จากประเด็นที่ครูกำหนดให้   เช่น
    - นักเรียนคิดว่า ตำนานพญาคันคากน่าเชื่อถือหรือไม่   เพราะเหตุใด
4. ครูให้นักเรียนจับคู่วิเคราะห์  พร้อมทั้งแสดงเหตุผลเป็นประเด็น ๆ  และสรุปลงในกระดาษที่ครูแจกให้   (กระดาษ  A4  )  ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
5. ให้ตัวแทนนักเรียนคู่ที่แสดงความคิดเห็นว่า น่าเชื่อถือออกมาร่วมแสดงความคิดเห็น ครูสรุปประเด็นสำคัญ แล้วจึงให้ตัวแทนนักเรียนคู่ที่แสดงความคิดเห็นว่า ไม่น่าเชื่อถือออกมาร่วมแสดงความคิดเห็น  
6. ครูสรุปสาระสำคัญจากที่นักเรียนแสดงความคิดเห็น  และอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่าการวิเคราะห์เรื่องราวของตำนานพญาคันคากที่เกิดขึ้นมาแล้วว่า  เป็นจริงมากแค่ไหน  จะต้องใช้วิธีการที่น่าเชื่อถือ ซึ่งเรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์  ซึ่งตำนานพญาคันคาก  เป็นตำนานแสดงความเชื่อของชาวอีสานและชุมชนสองฝั่งโขงเกี่ยวกับสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมสำคัญ
7. ให้นักเรียนศึกษาขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ จากหนังสือเรียน แล้วครูอธิบายขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์  ตามลำดับ  ดังนี้
    - การตั้งประเด็นที่จะศึกษา
    - การรวบรวมหลักฐาน
    - การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
    - การเลือกสรรและจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล
    - การนำเสนอข้อมูล หรือการสังเคราะห์ข้อมูล
8. ให้นักเรียนเปรียบเทียบและอภิปรายวิธีการทางประวัติศาสตร์  กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร   โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระและสร้างสรรค์

ชั่วโมงที่ 41. ให้นักเรียนเล่นเกมโดยแจกบัตรคำตามจำนวนนักเรียน  เช่น ก้อนหิน อิฐ ใบลาน ศิลาจารึก หอก ดาบ  มีด  โครงกระดูก  จดหมายเหตุ  สายสร้อย  แหวน  ถ้วยชาม  เป็นต้น 
2. ให้นักเรียนรวมกันเป็น 2  กลุ่ม  ดังนี้
      กลุ่มที่ 1 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
      กลุ่มที่ 2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. ครูให้ตัวแทนกลุ่มบันทึกรายชื่อคำต่างๆ ที่จัดอยู่ในกลุ่มของตน เมื่อแต่ละกลุ่มทำเสร็จครูเฉลยคำตอบ   และให้นักเรียนสรุปประโยชน์จากการปฏิบัติกิจกรรม 
4. ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาความรู้เกี่ยวกับประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย  จากหนังสือเรียน
5. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้   และทำใบงานที่  3.1  เรื่อง   หลักฐานทางประวัติศาสตร์ 

  • Output
1.ความรู้ เช่น มีความรู้ความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา
2.ทักษะ เช่นสามารถแก้ปัญหา เฉพาะหน้าได้   มีทักษะในการเรียน
3.คำถาม เช่น  สามารถตั้งคำถามเป็น และสามรถตอบคำถามได้                                                              4.แบบทดสอบ เช่น ทำแบบทดสอบของรายวิชาประวัติศาสตร์อยุธยาได้ผ่านเกณฑ์      
วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
 แบบทดสอบก่อนเรียน
 ร้อยละ 50 ผ่านเกณฑ์
 นักเรียนทำใบงานที่ 3.1
 ใบงานที่ 3.1
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น